ข้อมูลทั่วไป
Mainpage
สาระหน้ารู้
เกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย ในกรณีจัดซื้อจัดจ้าง [คลิก]
แผนปฏิบัติงาน 4 ปี สำนักงานอธิการบดี [คลิก]
แผนปฎิบัติราชการ 4 ปี มหาวิทยาลัยรามคำแหง [คลิก]
ขั้นตอนการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง [คลิก]
คู่มือการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ [คลิก]
กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) [คลิก]
อัพเดทล่าสุด
สัมมนาบุคลากร การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ [คลิก]
สัมมนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2554 [คลิก]
ชุมชนการจัดการความรู้ กองคลัง
Username & password ส่วนกลาง
(ใช้สำหรับการเข้าโพสข้อมูลใน Shout box)
ID FIS
PASSWORD 12345
กิจกรรมการประกวดบทความเพื่อการเรียนรู้
บัดนี้กิจกรรมการประกวดบทความเพื่อการจัดการองค์ความรู้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้น
โดยมีเรื่องที่ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการการจัดการองค์ความรู้ (KM)
จำนวน 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้
1. คุณมีวิธีป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงานอย่างไร
บทความที่ได้รับการคัดเลือกคือ วิธีตรวจสอบแบงค์ปลอม โดย คุณชไมพร อัศวอารีย์ งานการเงิน
อ่านบทความวิธีตรวจสอบแบงค์ปลอม คลิก
อ่านบทความในหัวข้อคุณมีวิธีป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงานอย่างไรทั้งหมด คลิก
2. ทำอย่างไรให้เกิดการใช้ทรัพยากรภานในองค์กรอย่างคุ้มค่า
บทความที่ได้รับการคัดเลือกคือ แนวทางง่ายๆ ในการอนุรักษ์พลังงาน
โดย คุณสมิทธิ ทองแก้ว งานการเงิน
อ่านบทความแนวทางง่ายๆ ในการอนุรักษ์พลังงาน คลิก
อ่านบทความในหัวข้อทำอย่างไรให้เกิดการใช้ทรัพยากรภานในองค์กรอย่างคุ้มค่า คลิก
3. วิธีการนำเทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ๆมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน
บทความที่ได้รับการคัดเลือกคือ เทคนิคโปรแกรม Microsoft Word กับการสร้างงานเอกสาร
โดย คุณวิเชียร สถาพรอมรวุฒิ งานบัญชี
อ่านบทความเทคนิคโปรแกรม Microsoft Word กับการสร้างงานเอกสาร คลิก
อ่านบทความในหัวข้อวิธีการนำเทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ๆมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน คลิก
4. หัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือบุคลากรภายในองค์กร
บทความที่ได้รับการคัดเลือกคือ Beware of germs in office โดย คุณรัตติกาญจน์ เรืองไกล งานการเงิน
อ่านบทความ Beware of germs in office คลิก
อ่านบทความในหัวข้อหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือบุคลากรภายในองค์กร คลิก
* ดาวโหลดโปรแกรม Adobe PDF คลิก
ชุมชนนักปฏิบัติของกองคลัง CoP(Community of Practice)
{xtypo_quote} ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: COP) เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการจัดการความรู้ขององค์กร และจะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสร้างเป็นชุมชนขึ้นมา เพื่อทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ รวมทั้งประสบการณ์ ของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ หรืออุดมการณ์ร่วมกันผ่านทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยอาจจะมีการพบปะกันจริง หรือพบปะกันแบบเสมือนผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นการทำให้เกิดการทำงานที่มีการประสานร่วมมือกัน ปรึกษาหารือกัน มีลักษณะเป็นการทำงานแบบเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่มีการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน หากองค์การสามารถเชื่อมโยงชุมชนนักปฏิบัติหลายๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายการทำงานที่มีการปฏิบัติงานร่วมกันจากหลายๆ ฟังก์ชั่นงาน ทำให้บุคลากรไม่เพียงแต่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะมีความรู้ ความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น เมื่อได้มีการแบ่งปันความรู้ร่วมกันผ่านชุมชนนักปฏิบัติ{/xtypo_quote}
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ กองคลัง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรัชญา (PHILOSOPHY) : บริหารโปร่งใสด้วยหลักธรรมาภิบาล
ปณิธาน (WILL) : กองคลังยึดมั่น ซื่อสัตย์ ร่วมมือบริการ สรรค์สร้างพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
วิสัยทัศน์ (VISION) : กองคลังเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการเงิน การคลัง เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (MISSION) ของกองคลังมี 4 ด้าน :
1.จัดวางระบบบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชีภาครัฐให้สอดรับกับระบบบริหารการคลังด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
2.จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชีภาครัฐ ให้ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ
3.ให้บริการด้านการเงิน งบประมาณ และพัสดุ ทั้งงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณจากเงินรายได้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการอื่นๆ ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ถูกต้อง ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
4.ให้คำปรึกษา แนะนำ การปฏิบัติงานด้านการเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐ แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการอื่นๆ
เป้าประสงค์ (GOALS) ของกองคลัง :
1.สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรและประชาคมมีส่วนร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้คุณธรรม ศีลธรรม ค่านิยม วัฒนธรรม เพื่อบูรณาการสู่การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทย
2.ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
3.พัฒนางานวิจัยสถาบันและจัดวางระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร
4.ระบบบริหารจัดการมีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาลและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ{/xtypo_info}
วัตถุประสงค์ (OBJECTIVE) :
1. เพื่อให้การบริหารจัดการ การเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐของมหาวิทยาลัย มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล
2.เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สอดรับกับนโยบายการปฏิรูประบบการเงิน การคลัง พัสดุ และการบัญชีภาครัฐ และระบบงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (PBB)
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากรให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถคู่จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีภาวะผู้นำ และมีทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร
4.เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐที่สามารถเชื่อมโยงกับทุกระบบ มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยอย่างมีเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง และมีคุณภาพทางการศึกษาที่เอื้อต่อการแข่งขันในระดับสากล
โครงการฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง “การรับ การจ่ายเงินและการจัดทำรายงานทางการเงินบัญชีเงินฝากธนาคารของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ปรากฏหรือมีการรับรู้ในรายงานการเงินของมหาวิทยาลัย (เงินบริหารจัดการของหน่วยงาน) ในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12”
โครงการฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง “การรับ การจ่ายเงินและการจัดทำรายงานทางการเงินบัญชีเงินฝากธนาคารของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ปรากฏหรือมีการรับรู้ในรายงานการเงินของมหาวิทยาลัย (เงินบริหารจัดการของหน่วยงาน) ในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12” 4.2 การตรวจสอบรายงานทางการเงิน บัญชีเงินบริหารจัดการหน่วยงาน ในระบบบัญชี 3 มิติ เวอร์ชั่น R12 ...คลิก... 4.3 คู่มือสําหรับผู้ใช้งานระบบบัญชีลูกหนี้ (Receivable) การบันทึกรายการเงินบริหารจัดการหน่วยงาน งานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านงานคลัง ...คลิก... 4.4 คู่มือการปฏิบัติงาน การรับ การจ่ายเงิน และการจัดทำรายงานทางการเงิน บัญชีเงินฝากธนาคารของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ปรากฏหรือมีการรับรู้ ในรายงานการเงินของมหาวิทยาลัย (เงินบริหารจัดการของหน่วยงาน) ในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12 ...คลิก...
|
โครงการฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง "แนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับวัสดุคงคลังของโครงการศึกษาภาคพิเศษ ในระบบบัญชี 3 มิติ"
|
เรื่อง “การตรวจสอบรายงานทางการเงิน บัญชีเงินทุนสำรองจ่ายของหน่วยงาน ในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12
เรื่อง “การตรวจสอบรายงานทางการเงิน บัญชีเงินทุนสำรองจ่ายของหน่วยงาน ในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12 |
การรับและการจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินทุนสำรองจ่ายของหน่วยงานในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12
การรับและการจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินทุนสำรองจ่ายของหน่วยงานในระบบบัญชี 3 มิติ รุ่น R12
|
เรื่อง “การปฏิบัติงานในระบบบัญชี ๓ มิติ เพื่อเบิกจ่ายเงิน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒”
เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบบัญชี ๓ มิติ เพื่อเบิกจ่ายเงิน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
|
การนำข้อมูลทางบัญชีจากเงินนอกงบประมาณของมหาวิทยาลัย เข้าสู่ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
|
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM)
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น