หน้าแรก
หลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกผลการปฏิบัติงาน
หลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกผลการปฏิบัติราชการ
เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของกองคลัง ในรอบการประเมินที่ 2 ปีงบประมาณ 2554
- หลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกผลการปฏิบัติราชการ เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของกองคลัง ในรอบการประเมินที่ 2 ปีงบประมาณ 2554 (ปรับปรุงใหม่) Click
- คู่มือการใช้งานระบบบันทึกผลประเมิน
- ไฟล์นำเสนอวันอบรม (20 ก.ย. 54)
- หลักเกณฑ์และวิธีการข้าราชการ
- หลักเกณฑ์และวิธีการลูกจ้างประจำ
- หลักเกณฑ์และวิธีการลูกจ้างชั่วคราว
- อนุมัติหลักเกณฑ์ (เพิ่มเติม)
- กรณีที่ผลการประเมินไม่สอดคล้องกับวันลาตามหลักเกณฑ์ฯ
- ตารางฐานในการคำนวณ(ข้าราชการ)
- ตารางฐานในการคำนวณ(พนักงาน)
- ตารางเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างประจำ
- ตารางเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว
- ตารางเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว (ประจำ)
- ภาพการอบรม การบันทึกคะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานราชการของ บุคลากร เข้าสู่เว็บไซด์กองคลัง Click
เอกสารประกอบโครงการ “การประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากร กองคลัง”
เอกสารประกอบโครงการถ่ายทอดความรู้จากบุคลากรของกองคลัง
ที่รับการพัฒนาอบรม/สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการสู่การปฏิบัติ
เรื่อง “การประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากร กองคลัง”
- ประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ รอบการประเมินที่ 2 Click
- หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ Click
- แบบ ป.มร.1 Click
- แบบ ป.มร.2 Click
- แบบ ป.มร.3 Click
- แบบ ป.กค.1 Click
- การกำหนดสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา Click
- ระดับสมรรถนะที่คาดหวัง Click
- ตัวอย่าง การกรอกแบบ ป.มร.1 (กองการเจ้าหน้าที่) Click
- ตัวอย่าง การกรอกแบบ ป.มร.2 (กองการเจ้าหน้าที่) Click
- ตัวอย่าง การกรอกแบบ ป.มร.2 (หัวหน้างานกองคลัง) Click
- ตัวอย่าง การกรอกแบบ ป.มร.3 (กองการเจ้าหน้าที่) Click
- ตัวอย่าง ตัวชี้วัดสำหรับงานคลัง Click
- หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ Click
- แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ Click
- รูปภาพประกอบการจัดโครงการถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากร กองคลัง Click
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM)
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
ชุมชนนักปฏิบัติของกองคลัง CoP(Community of Practice)
{xtypo_quote} ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: COP) เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการจัดการความรู้ขององค์กร และจะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสร้างเป็นชุมชนขึ้นมา เพื่อทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ รวมทั้งประสบการณ์ ของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ หรืออุดมการณ์ร่วมกันผ่านทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยอาจจะมีการพบปะกันจริง หรือพบปะกันแบบเสมือนผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นการทำให้เกิดการทำงานที่มีการประสานร่วมมือกัน ปรึกษาหารือกัน มีลักษณะเป็นการทำงานแบบเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่มีการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน หากองค์การสามารถเชื่อมโยงชุมชนนักปฏิบัติหลายๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายการทำงานที่มีการปฏิบัติงานร่วมกันจากหลายๆ ฟังก์ชั่นงาน ทำให้บุคลากรไม่เพียงแต่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะมีความรู้ ความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น เมื่อได้มีการแบ่งปันความรู้ร่วมกันผ่านชุมชนนักปฏิบัติ{/xtypo_quote}
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ กองคลัง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรัชญา (PHILOSOPHY) : บริหารโปร่งใสด้วยหลักธรรมาภิบาล
ปณิธาน (WILL) : กองคลังยึดมั่น ซื่อสัตย์ ร่วมมือบริการ สรรค์สร้างพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
วิสัยทัศน์ (VISION) : กองคลังเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการเงิน การคลัง เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (MISSION) ของกองคลังมี 4 ด้าน :
1.จัดวางระบบบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชีภาครัฐให้สอดรับกับระบบบริหารการคลังด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
2.จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชีภาครัฐ ให้ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ
3.ให้บริการด้านการเงิน งบประมาณ และพัสดุ ทั้งงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณจากเงินรายได้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการอื่นๆ ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ถูกต้อง ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
4.ให้คำปรึกษา แนะนำ การปฏิบัติงานด้านการเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐ แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการอื่นๆ
เป้าประสงค์ (GOALS) ของกองคลัง :
1.สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรและประชาคมมีส่วนร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้คุณธรรม ศีลธรรม ค่านิยม วัฒนธรรม เพื่อบูรณาการสู่การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทย
2.ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
3.พัฒนางานวิจัยสถาบันและจัดวางระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร
4.ระบบบริหารจัดการมีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาลและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ{/xtypo_info}
วัตถุประสงค์ (OBJECTIVE) :
1. เพื่อให้การบริหารจัดการ การเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐของมหาวิทยาลัย มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล
2.เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สอดรับกับนโยบายการปฏิรูประบบการเงิน การคลัง พัสดุ และการบัญชีภาครัฐ และระบบงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (PBB)
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากรให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถคู่จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีภาวะผู้นำ และมีทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร
4.เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการเงิน งบประมาณ พัสดุ และการบัญชีภาครัฐที่สามารถเชื่อมโยงกับทุกระบบ มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยอย่างมีเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง และมีคุณภาพทางการศึกษาที่เอื้อต่อการแข่งขันในระดับสากล