ปรัชญา : บริหารโปร่งใสด้วยหลักธรรมาภิบาล

เข้าสู่ระบบ



จัดทำโดย

ป้ายโฆษณา
เกี่ยวกับโครงการบัญชี 3 มิติฯ
ความเป็นมาโครงการ PDF พิมพ์
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2005 เวลา 07:00 น.

ามที่รัฐบาลมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยรัฐปรับเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2545 ประกอบกับทบวง มหาวิทยาลัยมีนโยบายจะพัฒนาต้นแบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์ พึงรับ – พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติขึ้น เพื่อให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐที่มีความพร้อมนำต้นแบบ ระบบงานนี้ไปปฏิบัติแทนระบบบัญชีส่วนราชการในปัจจุบัน

หาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเห็นสมควรปรับระบบบัญชีราชการ ซึ่งใช้เกณฑ์เงินสด (cash basic) ไปเป็นบัญชี กองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย (accrual basic)เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบบัญชีต้นทุนที่สามารถรายงานค่าใช้จ่าย ต่อหน่วยได้ ในการดำเนินการดังกล่าวมหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการศึกษาวิจัยเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ – พึงจ่ายลักษณะ 3 มิติ ตามนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการสัมมนา และฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับต้นแบบระบบงานดังกล่าว

พื่อนำไปกำหนดนโยบายพร้อมทั้งวิเคราะห์สังเคราะห์ระบบงานเดิมและ ระบบงานใหม่ตลอดจนดำเนินการสำรวจ ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยฯให้สามารถนำไปพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงาน ทางด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ ก่อนการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับ ระบบงานใหม่

ดยเห็นสมควรให้ทุกส่วนราชการของมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการศึกษาพร้อมทั้งลงมือปฏิบัติ เพื่อจะได้รับทราบ ข้อสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะรายงานต่อทบวงมหาวิทยาลัย

 
วัตถุประสงค์โครงการ PDF พิมพ์
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2005 เวลา 07:00 น.

มหาวิทยาลัยรามคำแหงมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน สนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางการศึกษาไปสู่ปวงชน นำวิชาการไปสู่ ความเป็นสากลเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแห่งหนึ่งของโลก


วัตถุประสงค์

(1) เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีคุณภาพทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ มีความรู้คู่คุณ ธรรม มีจิตสำนักที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความเป็นผู้นำ มีทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ชุมชนและ ท้องถิ่น

(2) เพื่อพัฒนาวิชาการไปสู่ความเป็นสากล มีรูปแบบที่หลากหลายและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแห่งหนึ่งของโลก

(3) เพื่อกระจายโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา กระตุ้นการเรียนรู้อันจะทำให้สามารถพึ่งตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตการงาน และรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้

(4)เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการวิจัย สร้างสรรค์องค์ความรู้และภูมิปัญญาไท ให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวด ล้อม ตลอดจนเผยแพร่ผลงานการวิจัย ในระดับชาติและนานาชาติได้

(5) เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารและจัดการ ให้มีความเป็นอิสระคล่องตัว เกิด ประสิทธิภาพและคุณภาพ สร้างความสัมพันธ์และ ความร่วมมือกับสถาบัน การศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ชุมชนและท้องถิ่น

(6) เพื่อให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นที่ยอมรับและแสดงถึงความมี คุณภาพของการจัดการศึกษา มีมาตรฐานการศึกษา และมีความเป็นเลิศทาง วิชาการ ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบประเมินผลที่เป็นรูปธรรมและมีความ โปร่งใส

(7) เพื่อส่งเสริมสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เห็นคุณค่ามรดก วัฒนธรรมไทย สามารถอนุรักษ์ศิลปะ และสืบสานวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืน ตลอดไป

(8) เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์และดัดแปลงให้สอดคล้องกับภูมิปัญญา ท้องถิ่น

 
คณะกรรมการโครงการ PDF พิมพ์
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2005 เวลา 07:00 น.
รายชื่อคณะกรรมการพัฒนาระบบ
   
 1. ศาสตราจารย์ประจำ รังสรรค์ แสงสุข อธิการบดี ประธานกรรมการ
 2. รศ.นพคุณ คุณาชีวะ รองฯ ฝ่ายนโยบายและแผน
รองประธานกรรมการ
 3. รศ.วันเพ็ญ อนิวรรตนพงศ์ รองฯ ฝ่ายการคลัง
รองประธานกรรมการ
 4. นายสุชาติ กิจธนะเสรี ผอ. สถาบันคอมพิวเตอร์กรรมการ
 5. รองศาสตราจารย์มานพ พราหมณโชติกรรมการ
 6. รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ตั้งประเสริฐกรรมการ
 7. ผศ.พรชัย จิตต์พานิชกรรมการ
 8. นายธีระ ทองประกอบกรรมการ
 9. นางดูษฎี ธรมธัชกรรมการ
 10. นายเดชา พรเจริญนพกรรมการ
 11. นายปรีชา พันพิพัฒน์กรรมการ
 12. นางพรศรี ฉัตรธนะกุลกรรมการ
 13. นายวีรชัน พันธ์นรากรรมการ
 14. นางอัจฉราวรรณ นารถพจนานนท์กรรมการและเลขานุการ
 15. นายจีระวัฒน์ ยุวอมรพิทักษ์กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการพัฒนาระบบมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้


1. กำหนดนโยบายและดำเนินการวิเคราะห์โครงสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามต้นแบบระบบฯ โดยมีรูปแบบการบริหาร และรวมศูนย์เบิกจ่ายเงิน


2. มอบหมาย ประสานงาน ติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานของบุคคลหรือคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ - พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ เพื่อเสนอต่อ มหาวิทยาลัยและทบวงมหาวิทยาลัย


3. ดำเนินการจัดสัมนาและฝึกอบรม เพื่อให้เข้าใจระบบใหม่ ทั้งระบบงานและระบบคอมพิวเตอร์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ


4. ตัดสินใจและวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ - พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัย